วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15




บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

เวลาเข้าสอน 08:00น. เวลาเรียน 08:30น. เวลาเลิกเรียน 12:20 น.







ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้

เป็นการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อออกมา กลุ่มละ 1 ชิ้น ต่อ 3คน แล้วนำสื่อของตนมานำเสนอหน้าชั้น ว่าสื่อที่เราทำมาจะสอนเด็กยังไงให้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์



กลุ่มขอดิฉันทำสื่อชื่อจับคู่หรรษา เป็นการทำสื่อรูปทรงสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมมุมฉาก จะมีรูปตัวแบบเช่นสามเหลี่ยม แล้วมีรูปสัตว์หรือผลไม้ก็ได้อยู่ในรูปทรงนั้น แต่รูปสัตว์จะมีสีดำครึ่งตัว จะให้ผู้เล่นนำรูปมาต่อให้สมบูรณ์ จะกำหนดได้ 2 แบบคือ 1. หารูปที่มีรูปทรงเหมือนกัน 2.หารูปที่มีรูปทรงต่างกัน

                                                       เกมจับคู่หรรษา






                                    สื่อคณิตศาสตร์ที่น่าสนใจและชอบมากที่สุด

ร้านค้าพาเพลิน เป็นสื่อที่สอนเกี่ยวกับการนับเงินทอนเงินเงิน การบวก การลบเลข สื่อของกลุ่มนี้ก็ประดิษฐ์ออกมาได้สวย และสามานำไปใช้ได้จริง


                                                              ชื่อสื่อ ร้านค้าพาเพลิน





ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้ในการเรียนการสอน

-สามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เพื่อนทำป็นสื่อในการเรียนการสอนได้
-ให้เด็กรู้จักรูปทรง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม  -เด็กสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เกี่ยวกับการทอนเงิน

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14





บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี 5 กุมภาพันธ์ 2557 ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 08.30-12.20. น





***วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน***

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทินครั้งที่ 13



บันทึกอนุทิน



วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี 29 มกราคม 2557 ครั้งที่ 13

เวลาเข้าสอน 08:00น. เวลาเรียน 08:30น. เวลาเลิกเรียน 12:20 น.




    กิจกรรมสำหรับวันนี้ครูให้แบ่งกลุ่มเขียนแผนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ กลุ่มของดิฉันก็ได้คิดกิจกรรมเขียนแผนสำหรับ  อนุบาล 1 คือการนับจำนวนลูกบอลของเด็กโดยบูรณาการผ่านการเล่นกิจกรรมกลางแจ้ง  ส่วนอนุบาล2 ทำแผนเกี่ยวกับรูปทรงที่เกี่ยวกับของใช้ในห้องครัวว่ามีรูปทรงคลายกับอะไรบ้างแล้วให้เด็กนำรูปทรงไปวางไว้ใต้ภาพ  อนุบาล 3 เป็นการเปรียบเทียบน้ำหนักให้เด็กได้สัมผัของจริงว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร และวัตถุนั้นจะต้องมีทั้งหนักและเบาขึ้นอยู่กับขนาดของวัตถุด้วย




                                                      บรรยากาศภายในห้องเรียน










ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในครั้งนี้


ในการเขียนแผนในวันนี้ทำให้เราได้รู้ว่าการเขียนแผนในวิชาคณิตศาสตร์มีรูปแบบในการเขียนอย่างไรและเรายังนำวิชาอื่นมาบูรณาการในรายวิชานี้ได้อีกด้วย เป็นการฝึกหัดให้เรารู้หลักในการเขียนแผนแบบง่ายๆก่อนที่จะเขียนแบบยากขึ้น
















วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่12




บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 22 มกราคม 2557 ครั้งที่ 12
เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน 08.30 น.
เวลาเลิกเรียน 12.20 น.



  วันนี้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับ การทำรูปทรงเรขาคณิตและการจำแนกสี อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษา และอุปกรณ์อื่นๆ สี กรรไกร ไม้บรรทัด กาว ให้ใช้กันเป็นกลุ่มๆ


                                                            ระหว่างทำกิจกรรม




ผลงานของเรา


















การนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม








การนำไปใช้/ประโยชน์ที่ได้รับ

-นำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้โดยอาจจะเล่านิทาน 

-เด็กสามารถจำแนกสี เรียงลำดับ นับจำนวนได้ และเรื่องพีชคณิต

-เด็กรู้จักรูปทรงต่างๆ เช่น วงกลม สีเหลี่ยม สามเหลี่ยม เป็นต้น

-เด็กเกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์





ในภาพนี้คือ การจำแนกประเภทของสัตว์ ที่เป็นสัตว์มีพิษและไม่มีพิษ











                                          งานชืิ้นที่สองทำเป็นกลุ่ม มี 3 กลุ่ม

1.การเปรียบเทียบ 2.การเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง 3.การสำรวจสื่งที่ชอบ


กลุ่มที่ 1 การเปรียบเทียบระหว่างของใช้ในห้องนอนกับห้อง




การนำไปใช้/ประโยชน์ที่ได้รับ

เด็กได้เรียนรู้การเปรียบเทียบและจำแนกสิ่งของต่างๆภายในบ้าน เช่น ห้องนอนกับห้องครัว ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร


กลุ่มที่ 2.การเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง






การนำไปใช้/ประโยชน์ที่ได้รับ
เด็กได้เรียนรู้การเปรียบเทียบถึงความเหมือนและความแตกต่างของสัตว์ 2 ชนิด คือ แมว และ วัว ว่าสัตว์ 2ชนิดมีความต่างกันคืออะไร และมีความเหมือนกันคืออะไร


กลุ่มที่ 3.การสำรวจสื่งที่ชอบ




การนำไปใช้/ประโยชน์ที่ได้รับ
เด็กได้เรียนรู้การสำรวจสื่งที่ชอบ 4 ชนิด คือ ผีเสื้อ ปลา แมว นก โดยให้เด็กในห้องออกมาเขียนหรือติดกระดาษ ว่าตัวเองชอบสัตว์ชนิดไหน แล้วร่วมกันสรุปผลว่าเด็กในห้องชอบสัตว์ชนิดไหนมาก ชอบสัตว์ชนิดไหนน้อย และเด็กยังได้เรียนรู้เรื่องจำนวน การนับเลข




























วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11



บันทึกอนุทิน



วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 15 มกราคม 2557 ครั้งที่ 11

เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน 08.30 น.


เวลาเลิกเรียน 12.20 น.




กิจกรรมในวันนี้ ได้ทำ Big Book โดยอาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันแต่งนิทานขึ้นมา โดยตัวละครหลักคือ เจ้าหมู แต่งเสร็จก็ได้แบ่งเนื้อเรื่องของนิทานออกเป็นกลุ่ม พอทำเสร็จก็นำมารวมกันเป็นเล่มเดียว





                                                  นิทาน เรื่องลูกหมูเก็บฟืน

กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งไกลมาก หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงาน หมูที่อยู่บ้านหลังวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่า ซึ่งในป่ามีฟื้นเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยเก็บฟืนในป่า หมูทั้ง 6 ตัวช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมด 10 ท่อน แล้วหมูก็นำฟืนสามท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน และหมูก็นำฟืน 7 ท่อนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป




                             ภาพระหว่างทำกิจกรรม









ภาพรูปเล่มหนังสือนิทาน เรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน








































ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้และการนำความรู้ที่ได้ไปในในอนาคต

                   จากกิจกรรมทำให้เราเแต่งนิทานเป็น รู้จักการนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนมาใช้ในการแต่งนิทานสำหรับเด็กใหเกิดประโยชน์  ฝึกการคิดและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม จากกิจกรรมนี้ทำให้แต่งนิทานได้อย่างรวดเร็วและสอดคล้องกับคณิตศาสตร์ทั้งเรื่องรูปทรง การนับจำนวน  ระยะทาง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม  วงกลม  และยังนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย







วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทินครั้งที่10




บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 8 มกราคม 2557 ครั้งที่ 10

        เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.




         วันนี้อาจารย์สอน เรื่อง กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย คือ......


กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
-จำนวนและการดำเนินการ
-การวัด
-เรขาคณิต
-การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์                                                                                                                  
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
เมื่อเด็กจบอนุบาล 1-3 จะได้อะไรบ้างจากวิชาคณิตศาสตร์.......?
1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical thinking )
-จำนวนนับ 1 ถึง 20
-เข้าใจหลักการนับ
-รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-รู้ค่าจำนวนนับ
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
-การรวมและการแยกกลุ่ม

2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน เวลา
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
-รู้จักเงินเหรียญบาทและธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา เช่น วันนี้ ตอนนี้ เมื่อวาน ตอนสายๆ เป็นต้น

3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ


4.มีความรู้ความเข้าใจแบบรูป ของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่ายเด็กจะทำได้ตั้งแต่อนุบาล 3 ขึ้นไป

6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

สาระมาตรฐานและการเรียนรู้

สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ

-มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนจริง



                              การรวมและการแยกกลุ่ม





ในภาพนี้จะบอกถึงการนับจำนวนของหมี 2 ตัว และกระต่าย 4 ตัว พอนำกระต่ายและหมีมานับรวมกัน จะได้ 6 ตัว และการแยกกลุ่มระหว่างกระต่ายกับหมีจะได้ 2 กลุุ่ม สาระที่ 2 การวัด
-มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

ความยาว น้ำหนักและ ปริมาตร
-การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
-การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
-การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง

เงิน
-ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร เช่น เด็กอนุบาลจะบอกได้ว่า ค่าของเงินไหนมากกว่า เงินไหนน้อยกว่า 5 บาท น้อยกว่า 10 ซื้อของได้แค่ 2 บาท 3 บาท 4บาท ถึง5 บาท ซื้อมากกว่านั้นไม่ได้แล้ว

**เด็กปฐมวัยจะไม่มีการวัดเป็นหน่วย เซนติเมตร มิลลิเมตร หรือ หน่วยต่างมาใช้ในการสอน แต่จะสอนโดยการนำสิ่งของรอบตัวมาวัดหรือใช้อวัยวะร่างกายมาวัด เช่น ช่วงก้าวของขา หรือ ความยาวของแขน ที่สามารถใช้วัดสิ่งของแทนได้



เวลา
-ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับฉัน








สาระที่ 3 เรขาคณิต

-มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
-มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง

-การบอก ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง ของสิ่งต่างๆ เช่น ไกล ใกล้ ซ้าย ขวา ข้างนอก ข้างบน ตรงนี้ ตรงนั้น เป็นต้น

รูปเรขาคณิต

-ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
-วงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
-การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ

รูปเรขาคณิตสองมิติ คือ วงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
รูปเรขาคณิตสามมิติ คือ ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก

**เด็กเรียนรู้จาก 3 มิติ ก่อน 2 มิติ เพราะ 3 มิติ เป็นของจริง จับต้องได้ เช่น ลูกบอล 







สาระที่ 4 พีชคณิต                                                                                                                     -มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

แบบรูปและความสัมพันธ์

-แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด หรือ สีที่สัมพันธ์กัน







สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

-มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมนำเสนอ





สาระที่ 6 ทักษะ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

การแก้ปัญหา การใช่เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ กับศาสตร์อื่นๆ และมี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เช่น การสอดแทรกความรู้ให้กับเด็ก คือ เด็กเล่นบล็อกครูจะสอดแทรกการนับ รูปทรง เข้าไปในการถามเด็ก เช่น หนูทำอะไรคะ บล็อกที่ว่ามีกี่อัน เด็กจะนับแล้วบอกครู                                                                                                                                                                                                                                                                               ชิ้นงาน รูปทรง                                                                                                                                                    

การนำไปใช้/ ประโยชน์ที่ได้รับ


-เด็กได้ฝึกการ ทำรูปทรงต่างๆให้เกิดประโยชน์

-เด็กได้จักรูปวงกลม  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม

-เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลงาน

   
บันทึกอนุทินครั้งที่่ 9





บันทึกอนุทิน



วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน



          วัน/เดือน/ปี...1....มกราคม.....2557...ครั้งที่...9....เวลาเรียน..08.30-12.20.... น.







                                                 .....ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากหยุดวันปีใหม่...