วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทินครั้งที่10




บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี 8 มกราคม 2557 ครั้งที่ 10

        เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.




         วันนี้อาจารย์สอน เรื่อง กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย คือ......


กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
-จำนวนและการดำเนินการ
-การวัด
-เรขาคณิต
-การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์                                                                                                                  
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
เมื่อเด็กจบอนุบาล 1-3 จะได้อะไรบ้างจากวิชาคณิตศาสตร์.......?
1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical thinking )
-จำนวนนับ 1 ถึง 20
-เข้าใจหลักการนับ
-รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-รู้ค่าจำนวนนับ
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
-การรวมและการแยกกลุ่ม

2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน เวลา
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
-รู้จักเงินเหรียญบาทและธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา เช่น วันนี้ ตอนนี้ เมื่อวาน ตอนสายๆ เป็นต้น

3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ


4.มีความรู้ความเข้าใจแบบรูป ของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่ายเด็กจะทำได้ตั้งแต่อนุบาล 3 ขึ้นไป

6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

สาระมาตรฐานและการเรียนรู้

สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ

-มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนจริง



                              การรวมและการแยกกลุ่ม





ในภาพนี้จะบอกถึงการนับจำนวนของหมี 2 ตัว และกระต่าย 4 ตัว พอนำกระต่ายและหมีมานับรวมกัน จะได้ 6 ตัว และการแยกกลุ่มระหว่างกระต่ายกับหมีจะได้ 2 กลุุ่ม สาระที่ 2 การวัด
-มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

ความยาว น้ำหนักและ ปริมาตร
-การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
-การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
-การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง

เงิน
-ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร เช่น เด็กอนุบาลจะบอกได้ว่า ค่าของเงินไหนมากกว่า เงินไหนน้อยกว่า 5 บาท น้อยกว่า 10 ซื้อของได้แค่ 2 บาท 3 บาท 4บาท ถึง5 บาท ซื้อมากกว่านั้นไม่ได้แล้ว

**เด็กปฐมวัยจะไม่มีการวัดเป็นหน่วย เซนติเมตร มิลลิเมตร หรือ หน่วยต่างมาใช้ในการสอน แต่จะสอนโดยการนำสิ่งของรอบตัวมาวัดหรือใช้อวัยวะร่างกายมาวัด เช่น ช่วงก้าวของขา หรือ ความยาวของแขน ที่สามารถใช้วัดสิ่งของแทนได้



เวลา
-ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับฉัน








สาระที่ 3 เรขาคณิต

-มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
-มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง

-การบอก ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง ของสิ่งต่างๆ เช่น ไกล ใกล้ ซ้าย ขวา ข้างนอก ข้างบน ตรงนี้ ตรงนั้น เป็นต้น

รูปเรขาคณิต

-ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
-วงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
-การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ

รูปเรขาคณิตสองมิติ คือ วงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
รูปเรขาคณิตสามมิติ คือ ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก

**เด็กเรียนรู้จาก 3 มิติ ก่อน 2 มิติ เพราะ 3 มิติ เป็นของจริง จับต้องได้ เช่น ลูกบอล 







สาระที่ 4 พีชคณิต                                                                                                                     -มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

แบบรูปและความสัมพันธ์

-แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด หรือ สีที่สัมพันธ์กัน







สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

-มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมนำเสนอ





สาระที่ 6 ทักษะ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

การแก้ปัญหา การใช่เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ กับศาสตร์อื่นๆ และมี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เช่น การสอดแทรกความรู้ให้กับเด็ก คือ เด็กเล่นบล็อกครูจะสอดแทรกการนับ รูปทรง เข้าไปในการถามเด็ก เช่น หนูทำอะไรคะ บล็อกที่ว่ามีกี่อัน เด็กจะนับแล้วบอกครู                                                                                                                                                                                                                                                                               ชิ้นงาน รูปทรง                                                                                                                                                    

การนำไปใช้/ ประโยชน์ที่ได้รับ


-เด็กได้ฝึกการ ทำรูปทรงต่างๆให้เกิดประโยชน์

-เด็กได้จักรูปวงกลม  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม

-เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น