วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทินครั้งที่3                                                                                      
                                                                                               
                                                                   
บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น

วันพุธ ที่20 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ. 2556

เวลาเข้าสอน 08.30 อาจารย์เข้าเวลา 08.40 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น

 การเรียนการสอนในวันนี้
-จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-เพื่อให้เด็กมีความเข้าพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การรู้จักคำศัพท์
-เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การ บวก ลบ
-เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
-เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1. การสังเกต
การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
 โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย
2 .การจำแนกประเภท
- การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งชิ้น
- เกณฑ์ในการจำแนกคือความเหมือนความแตกต่างและความสำคัญ
3. การเปรียบเทียบ
- เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
- เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งของนั้นๆและรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้
4. การจัดลำดับ

- เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
- การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
 
5 .การวัด

- มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
- การวัดสำหรับเด็กปฐมวัยได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ

 
                                   รูปภาพนี้จะเป็นการวัดความสูงของคนโดยใช้ตุ๊กตาสามตัววัด
 
6. การนับ
- เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
- การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
7. รูปทรงและขนาด
- เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน
คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- ตัวเลข-น้อย  มาก  น้อยกว่า  มากกว่า  ไม่มี  ทั้งหมด
- ขนาด- ใหญ่  คลาย  สองเท่า  ใหญ่ที่สุด  สูง  เตี้ย 
- รูปร่าง- สามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม  ยาว  โค้ง  สั้นกว่า   แถว
- ที่ตั้ง- บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด  ยอด  ก่อน  ระยะทาง  ระหว่าง
- ค่าของเงิน- สลึง  ห้าสิบสตางค์  หนึ่งบาท  ห้าบาท  สิบบาท 
 

- ความเร็ว- เร็ว  ช้า  เดิน  วิ่ง  คลาน 
- อุณหภูมิ- เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด
 
         วันนี้อาจายร์ให้วาดรูปการเดินทางมาเรียนว่าระหว่างเดินมาเรียนผ่านอะไรบ้าง

สิ่งที่ได้จากงานชิ้นนี้

1.ได้สังเกตว่าระหว่างเดินทางมาเรียนเราเจออะไรบ้าง
2.ได้รู้รูปทรงต่างๆของ ตึก ว่ามีรูปทรงอะไรบ้าง
3.ได้ระยะทางการเดินทางมาเรียนว่าระยะทางใกล้หรือไกล

 
     สิ่งที่ได้รับในการเรียนการสอน
 
 - ได้เห็นรูปภาพที่มีการเปรียบเทียบจากเล็กไปใหญ่และสามารถนำไปใช้ในการฝึกสอนได้
 -เด็กสามารถจำแนกแยกกลุ่มได้หลายแบบตามที่เด็กเข้าใจ
 -เราสามารถที่จะนำทักษะทั้ง7ด้านมาสอนให้กับเด็กๆใช้ในชีวิตประจำวันได้

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

 

 

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่13 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ.  2556
เวลาเข้าสอน 08.30  อาจารย์เข้าเวลา 08.40 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น

 

         การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้สอนเนื้อหาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  พอท้ายคาบอาจารย์ก็มีกิจกรรมสนุกๆให้ทำ คือ ให้วาดรูปสัตว์อะไรก็ได้ที่มีขาเยอะๆ ทุกคนต่างก็คิดว่าจะวาดรูปอะไรดีที่มีขาเยอะ ทีแรกเราก็คิดจะวาดปูแต่เพื่อนก็วาดไปแล้ว เลยตัดสินใจวาดมดแดงซะเลย พอวาดออกมาแล้วก็พอดูได้

 

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

      ความหมายของ คณิตศาสตร์ คือ ระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาและอธิบายของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ  โดยใช้ภาพลักษณ์การพูดการเขียนและเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนตัวเลข การคิดคำนวณหรือการดำเนินการเกี่ยวกับจำนวนการวัดเรขาคณิต พีชคณิต หรือแบบรูปความสัมพันธ์

 

ความสำคัญของคณิตศาสตร์

- เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตชีวิตประจำวัน

- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์

 

ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget

   1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (sensorimotor stage) แรกเกิด-2ปี

- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ

- สามารถจดจำสิ่งสิ่งต่างๆบอกคุณลักษณะของวัตถุได้

   2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preopera Tional Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี

- ใช้ภาษาแสดงความรู้ ความคิด

- เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง และความยาว

- เล่นบทบาทสมมุติซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม

- เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด

 

การอนุรักษ์ (Conservation)

 เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย

                - การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง

                - การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร

                - เรียงลำดับ

                - จับกลุ่ม


  - เปิดโอกาสให้เด็กไปพูดคุยอธิบาย และสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์

  - ผสมผสานคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์

  - ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

  - ใช้คำถามปลายเปิด

 

 - ใช้เชื่อมโยงกับการใช้ในชีวิตประจำวัน
 


 
 
 
 
 
 
 

วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1



                                                                 บันทึกอนุทิน

                                   วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วัน พุธ ที่ 6 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
               เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.




                 กิจกรรมที่ทำในวันนี้

วันนี้อาจารย์ให้ทำ Mymapping สรุปความรู้ที่มีอยู่เกี่ยวกับ วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนที่จะเข้าสู่บทเรียนว่านักศึกษามีความรู้ในเรื่องการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากน้อยเพียงใดตามความคิดของนักศึกษา



            สิ่งที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้


- ได้รู้ว่าตนเองมีความรู้ในเรื่อง วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มากน้อยเพียงใด

- ได้ใช้ความคิดและความสามารถของตนเองในการทำผลงานของตนเอง