วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

 

 

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่13 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ.  2556
เวลาเข้าสอน 08.30  อาจารย์เข้าเวลา 08.40 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น

 

         การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้สอนเนื้อหาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  พอท้ายคาบอาจารย์ก็มีกิจกรรมสนุกๆให้ทำ คือ ให้วาดรูปสัตว์อะไรก็ได้ที่มีขาเยอะๆ ทุกคนต่างก็คิดว่าจะวาดรูปอะไรดีที่มีขาเยอะ ทีแรกเราก็คิดจะวาดปูแต่เพื่อนก็วาดไปแล้ว เลยตัดสินใจวาดมดแดงซะเลย พอวาดออกมาแล้วก็พอดูได้

 

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

      ความหมายของ คณิตศาสตร์ คือ ระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาและอธิบายของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ  โดยใช้ภาพลักษณ์การพูดการเขียนและเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนตัวเลข การคิดคำนวณหรือการดำเนินการเกี่ยวกับจำนวนการวัดเรขาคณิต พีชคณิต หรือแบบรูปความสัมพันธ์

 

ความสำคัญของคณิตศาสตร์

- เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตชีวิตประจำวัน

- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์

 

ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget

   1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (sensorimotor stage) แรกเกิด-2ปี

- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ

- สามารถจดจำสิ่งสิ่งต่างๆบอกคุณลักษณะของวัตถุได้

   2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preopera Tional Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี

- ใช้ภาษาแสดงความรู้ ความคิด

- เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง และความยาว

- เล่นบทบาทสมมุติซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม

- เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด

 

การอนุรักษ์ (Conservation)

 เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย

                - การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง

                - การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร

                - เรียงลำดับ

                - จับกลุ่ม


  - เปิดโอกาสให้เด็กไปพูดคุยอธิบาย และสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์

  - ผสมผสานคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์

  - ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

  - ใช้คำถามปลายเปิด

 

 - ใช้เชื่อมโยงกับการใช้ในชีวิตประจำวัน
 


 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น