วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

  บันทึกอนุทินครั้งที่4




                                                           บันทึกอนุทิน
 
                                   วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
                                          วัน/เดือน/ปี 27 พฤศจิกายน 2556 ครั้งที่ 4
                                          เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน 08.30 น.
                                          เวลาเลิกเรียน 12.20 น.




วันนี้อาจารย์มอบหมายให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
โดยแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อดังนี้
 
1. จำนวนและการดำเนินการ   
2. เรขาคณิต
3. การวัด
4. พีชคณิต
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น



                                          เป็นการนำเสนอของกลุ่ม จำนวนและการดำเนินการ   



 
 สาระการเรียนรู้ที่ได้รับ
 
 -การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก และตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดู อารบิก แสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวนการรวมและการแยกกลุ่ม
- การรวมสิ่งต่าง ๆ สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
 
                                                   การนำเสนอของกลุ่ม เรขาคณิต

 

 กลุ่มนี้จะมีเกมมาให้เล่นโดยจะมีรูปทรงสามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีสิ่งของที่เราใช้ในชีวิตประจำวันที่เป็นรูปทรงต่างๆที่สามารถนำเรขาคณิตมาใช้ได้


                                                       การนำเสนอของกลุ่มการวัด

 
 
 
      1. เพื่อให้เด็กรู้จักการวัด ความเข้าใจในการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่่ง เพื่อเปรียบเทียบสิ่งของสองกลุ่มว่ามี
จํานวนเท่ากัน ไม่เท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่า

   2. เพื่อให้รู้จักการสังเกต เปรียบเทียบการจัดสิ่งของตามลําดับความยาว หรือรูปร่าง ขนาดและสี

   3.เปรียบเทียบสิ่งของชนิดเดียวกันหรือต่างกัน ตามขนาดความยาว ความสูง ความหนา น้ําหนัก

      4. ฝึกให้รู้ความหมายของคําที่แสดงตําแหน่งต่างๆ ของสิ่งของ เช่น ใกล้ - ไกล บน - ล่าง หน้า -หลัง
ซ้าย -ขวา
 
 
 
การนำเสนอของกลุ่ม พีชคณิต
 

 
 
       พีชคณิต คือ เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่ที่  
 ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และ โครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ
 
 
การนำเสนอของกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
 
 

 
-ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล
-ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น