วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่5


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 4 ธันวาคม 2556 ครั้งที่ 5
เวลาเข้าสอน 08.00น. เวลาเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


การเรียนการสอนวันนี้ ทุกกลุ่มได้ออกมานำเสนอผลงานของตัวเองโดยการนำเกมที่เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่ได้มาให้เด็กๆได้เล่น  เกมของแต่ละกลุ่มมีความหลากหลายในการให้เลือกเล่น และบอกวิธีการเล่นที่ง่ายๆไม่ซับซ้อนวุ่นวายในการเล่น
 

กลุ่ม พีชคณิต

มีเกมให้เด็กๆได้เล่น คือ ให้เด็กบอกว่าจากภาพที่เห็นมีจำนวนเลขอยู่ แต่มีเลขใดที่หายไปแล้วให้เด็กๆได้หาคำตอบโดยมีตัวเลือกให้เด็กเลือก และก็มีภาพรูปทรง ภาพผลไม้ที่หายไปให้เด็กได้หาคำตอบด้วย
 
 
 


กลุ่ม ความน่าจะเป็น

 -เกมนี้จะเป็นเกมการสุ่มหยิบลูกปิงปองที่ใส่ลงไปในกล่อง จะมีลูกปิงปอง 3 ลูก 3 สี คือ น้ำเงิน ขาว ส้ม อยู่ในกล่อง แล้วเมื่อหยิบลูกปิงปองออกมาหนึ่งลูก ความน่าจะเป็น คือ อาจได้ลูกปิงปองสีขาว หรือสีน้ำเงิน หรือสีส้มก็ได้
-เกม โยนเหรียญ หัว ก้อย คือมีเหรียญอยู่สองเหรียญเมื่อโยนแล้ว ความน่าจะเป็นคือ ด้านที่พลิกอาจจะเป็น หัว 2 เหรียญ หรือ ก้อย 2 เหรียญ หรือ หัว1 เหรียญและก้อย 1 เหรียญ
-เกม หยิบสี คือจะมีสีอยุ่3สี คือ สีเขียว สีแดง สีส้ม แล้วสุ่มหยิบออกมาหนึ่งแท่ง ความน่าจะเป็น อาจจะหยิบได้ สีเขียว แดง หรือส้มก็ได้



 
 
 
กลุ่ม การวัด
 
- เกมวัดความยาว คือจะให้เด็กเปรียบเทียบความสูงของสัตว์ ปลา หนอน และยีราฟ โดยเรียงจากตัวที่สูงมาหาตัวที่ต่ำ เรียงจากเล็กไปใหญ่
- เกมเรียงมังคุด มีมังคุด 2 ผล แล้วให้เด็กบอกว่าลูกไหนใหญ่ ลูกไหนเล็ก หรือ ลูกไหนหนัก ลูกไหนเบา
- เกมวัดปริมาณน้ำในแก้ว มีแก้วน้ำ 3 แก้ว แล้วให้เด็กบอกวาแก้วไหนมีปริมาณน้ำเยอะสุด
- เกมวัดความสูงของดินสอ จะมีดินสอยาว 1 แท่ง และดินสอที่สั้น 1 แท่ง แล้วจะให้เด็กนำดินสอแท่งเล็กมาวัดว่าต้องใช้กี่แท่งจึงจะเท่าดินสอยาว 1 แท่ง
- เกมวัดความสูงของตุ๊กตา ตัวไหนมีขนาดใหญ่ เล็ก หรือ ตัวไหนสูง ต่ำ
 
 
 

 

กลุ่ม จำนวนและการดำเนินการ

- เริ่มต้นโดยการร้อเพลง ออกกำลังกาย
 
            เนื้อเพลง
 
กระโดดขึ้น ส่ายตัวไปเราหมุนตัวไปรอบๆ
ชูมือซ้าย ชูมือขวา แล้วปรบมือพร้อมกัน
ชูมือขวา ชูมือซ้าย โค้งคำนับให้กัน
 
- มีกิจกรรมที่ให้เด็กได้ร่วมทำ คือ จะมีวงกลมที่มีสัตว์อยู่แต่ไม่มีหัวของสัตว์และให้เด็กๆหาหัวให้สัตว์
- เกมเปรียบเทียบรูปผลไม้ที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้เด็กบอกลูกไหนใหญ่ ลูกไหนเล็ก ตามที่เด็กเห็น

 
 
 
 

                                            รูปภาพนี้เป็นการเปรียบเทียบผลไม้ที่มีขนาดไม่เท่ากัน

 
 
 
 

 

กลุ่ม รูปทรงเรขาคณิต

 
กลุ่มของเราเอง มีกิจกรรมมาให้เด็กๆทำหลายอย่าง เริ่มแรกจะชักชวนให้เด็กได้เป็นคนคิดเองว่าส่วนไหนของร่างกายเราสามารถทำให้เป็นรูปทรงได้ และมีกิจกรรมเกมให้เด็กเล่น คือ
- จะมีรูปทรงต่างๆให้ดูแล้วให้เด็กบอกว่ารูปสี่เหลี่ยมจะทำให้เป็นรูปอะไรได้บ้าง
- มีเกมต่อจิ๊กซอร์รูปทรงต่า




 
 
 
 
 
  
  กิจกรรมในวันนี้ให้ทำดอกไม้กัน กติกาคล้ายๆกับให้วาดรูปสัตว์ คือ ให้เลือกเลขที่เราชอบเขียนไว้กลางวงกลมแล้วให้ใส่กลีบดอกไม้ตามจำนวนเลขที่เขียนไว้



 

ประโยชน์ที่ได้ / การนำไปใช้
- จากกิจกรรมการนำเสนอสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันหรืออนาคตได้
-  ได้เรียนรู้ การนับจำนวน รูปทรง การวัด และอื่นๆที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
 
 

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

  บันทึกอนุทินครั้งที่4




                                                           บันทึกอนุทิน
 
                                   วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
                                          วัน/เดือน/ปี 27 พฤศจิกายน 2556 ครั้งที่ 4
                                          เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน 08.30 น.
                                          เวลาเลิกเรียน 12.20 น.




วันนี้อาจารย์มอบหมายให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
โดยแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อดังนี้
 
1. จำนวนและการดำเนินการ   
2. เรขาคณิต
3. การวัด
4. พีชคณิต
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น



                                          เป็นการนำเสนอของกลุ่ม จำนวนและการดำเนินการ   



 
 สาระการเรียนรู้ที่ได้รับ
 
 -การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก และตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดู อารบิก แสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวนการรวมและการแยกกลุ่ม
- การรวมสิ่งต่าง ๆ สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
 
                                                   การนำเสนอของกลุ่ม เรขาคณิต

 

 กลุ่มนี้จะมีเกมมาให้เล่นโดยจะมีรูปทรงสามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีสิ่งของที่เราใช้ในชีวิตประจำวันที่เป็นรูปทรงต่างๆที่สามารถนำเรขาคณิตมาใช้ได้


                                                       การนำเสนอของกลุ่มการวัด

 
 
 
      1. เพื่อให้เด็กรู้จักการวัด ความเข้าใจในการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่่ง เพื่อเปรียบเทียบสิ่งของสองกลุ่มว่ามี
จํานวนเท่ากัน ไม่เท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่า

   2. เพื่อให้รู้จักการสังเกต เปรียบเทียบการจัดสิ่งของตามลําดับความยาว หรือรูปร่าง ขนาดและสี

   3.เปรียบเทียบสิ่งของชนิดเดียวกันหรือต่างกัน ตามขนาดความยาว ความสูง ความหนา น้ําหนัก

      4. ฝึกให้รู้ความหมายของคําที่แสดงตําแหน่งต่างๆ ของสิ่งของ เช่น ใกล้ - ไกล บน - ล่าง หน้า -หลัง
ซ้าย -ขวา
 
 
 
การนำเสนอของกลุ่ม พีชคณิต
 

 
 
       พีชคณิต คือ เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่ที่  
 ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และ โครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ
 
 
การนำเสนอของกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
 
 

 
-ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล
-ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
 

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทินครั้งที่3                                                                                      
                                                                                               
                                                                   
บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น

วันพุธ ที่20 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ. 2556

เวลาเข้าสอน 08.30 อาจารย์เข้าเวลา 08.40 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น

 การเรียนการสอนในวันนี้
-จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-เพื่อให้เด็กมีความเข้าพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การรู้จักคำศัพท์
-เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การ บวก ลบ
-เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
-เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1. การสังเกต
การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
 โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย
2 .การจำแนกประเภท
- การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งชิ้น
- เกณฑ์ในการจำแนกคือความเหมือนความแตกต่างและความสำคัญ
3. การเปรียบเทียบ
- เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
- เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งของนั้นๆและรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้
4. การจัดลำดับ

- เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
- การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
 
5 .การวัด

- มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
- การวัดสำหรับเด็กปฐมวัยได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ

 
                                   รูปภาพนี้จะเป็นการวัดความสูงของคนโดยใช้ตุ๊กตาสามตัววัด
 
6. การนับ
- เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
- การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
7. รูปทรงและขนาด
- เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน
คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- ตัวเลข-น้อย  มาก  น้อยกว่า  มากกว่า  ไม่มี  ทั้งหมด
- ขนาด- ใหญ่  คลาย  สองเท่า  ใหญ่ที่สุด  สูง  เตี้ย 
- รูปร่าง- สามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม  ยาว  โค้ง  สั้นกว่า   แถว
- ที่ตั้ง- บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด  ยอด  ก่อน  ระยะทาง  ระหว่าง
- ค่าของเงิน- สลึง  ห้าสิบสตางค์  หนึ่งบาท  ห้าบาท  สิบบาท 
 

- ความเร็ว- เร็ว  ช้า  เดิน  วิ่ง  คลาน 
- อุณหภูมิ- เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด
 
         วันนี้อาจายร์ให้วาดรูปการเดินทางมาเรียนว่าระหว่างเดินมาเรียนผ่านอะไรบ้าง

สิ่งที่ได้จากงานชิ้นนี้

1.ได้สังเกตว่าระหว่างเดินทางมาเรียนเราเจออะไรบ้าง
2.ได้รู้รูปทรงต่างๆของ ตึก ว่ามีรูปทรงอะไรบ้าง
3.ได้ระยะทางการเดินทางมาเรียนว่าระยะทางใกล้หรือไกล

 
     สิ่งที่ได้รับในการเรียนการสอน
 
 - ได้เห็นรูปภาพที่มีการเปรียบเทียบจากเล็กไปใหญ่และสามารถนำไปใช้ในการฝึกสอนได้
 -เด็กสามารถจำแนกแยกกลุ่มได้หลายแบบตามที่เด็กเข้าใจ
 -เราสามารถที่จะนำทักษะทั้ง7ด้านมาสอนให้กับเด็กๆใช้ในชีวิตประจำวันได้

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

 

 

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่13 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ.  2556
เวลาเข้าสอน 08.30  อาจารย์เข้าเวลา 08.40 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น

 

         การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้สอนเนื้อหาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  พอท้ายคาบอาจารย์ก็มีกิจกรรมสนุกๆให้ทำ คือ ให้วาดรูปสัตว์อะไรก็ได้ที่มีขาเยอะๆ ทุกคนต่างก็คิดว่าจะวาดรูปอะไรดีที่มีขาเยอะ ทีแรกเราก็คิดจะวาดปูแต่เพื่อนก็วาดไปแล้ว เลยตัดสินใจวาดมดแดงซะเลย พอวาดออกมาแล้วก็พอดูได้

 

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

      ความหมายของ คณิตศาสตร์ คือ ระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาและอธิบายของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ  โดยใช้ภาพลักษณ์การพูดการเขียนและเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนตัวเลข การคิดคำนวณหรือการดำเนินการเกี่ยวกับจำนวนการวัดเรขาคณิต พีชคณิต หรือแบบรูปความสัมพันธ์

 

ความสำคัญของคณิตศาสตร์

- เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตชีวิตประจำวัน

- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์

 

ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget

   1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (sensorimotor stage) แรกเกิด-2ปี

- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ

- สามารถจดจำสิ่งสิ่งต่างๆบอกคุณลักษณะของวัตถุได้

   2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preopera Tional Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี

- ใช้ภาษาแสดงความรู้ ความคิด

- เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง และความยาว

- เล่นบทบาทสมมุติซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม

- เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด

 

การอนุรักษ์ (Conservation)

 เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย

                - การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง

                - การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร

                - เรียงลำดับ

                - จับกลุ่ม


  - เปิดโอกาสให้เด็กไปพูดคุยอธิบาย และสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์

  - ผสมผสานคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์

  - ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

  - ใช้คำถามปลายเปิด

 

 - ใช้เชื่อมโยงกับการใช้ในชีวิตประจำวัน
 


 
 
 
 
 
 
 

วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1



                                                                 บันทึกอนุทิน

                                   วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วัน พุธ ที่ 6 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
               เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.




                 กิจกรรมที่ทำในวันนี้

วันนี้อาจารย์ให้ทำ Mymapping สรุปความรู้ที่มีอยู่เกี่ยวกับ วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนที่จะเข้าสู่บทเรียนว่านักศึกษามีความรู้ในเรื่องการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากน้อยเพียงใดตามความคิดของนักศึกษา



            สิ่งที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้


- ได้รู้ว่าตนเองมีความรู้ในเรื่อง วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มากน้อยเพียงใด

- ได้ใช้ความคิดและความสามารถของตนเองในการทำผลงานของตนเอง